วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดตัทธิตครั้งที่ ๒




 
แบบฝึกหัดตัทธิต ครั้งที่ ๒

๑. ศัพท์ตัทธิต คือ ศัพท์เช่นไร
ก. นำเอาศัพท์สองศัพท์ย่อเข้าเป็นศัพท์เดียว
ข. ศัพท์ย่อโดยใช้ปัจจัยแทน
ค. นำเอาศัพท์สองศัพท์มาต่อกัน
ง. นำเอาศัพท์สองศัพท์มาตั้งวิเคราะห์ใหม่
๒. ตัทธิตว่าโดยย่อ มีกี่อย่าง อะไรบ้าง
ก. มี ๒ อย่าง คือ สามัญญตัทธิต ภาวตัทธิต
ข. มี ๓ อย่าง คือ สามัญญตัทธิต ภาวตัทธิต อัพยยตัทธิ
ค. มี ๔ อย่าง คือ สามัญญตัทธิต ภาวตัทธิต อัพยยตัทธิต  เสฏฐตัทธิต
ง. ๕ อย่าง คือ สามัญญตัทธิต ภาวตัทธิต อัพยยตัทธิต เสฏฐตัทธิต ปกติตัทธิ
๓. สามัญญตัทธิต มีเท่าไหร่ อะไรบ้าง
ก. มี ๑๐ อย่าง          ข. มี ๑๒ อย่าง
ค. มี ๑๓ อย่าง          ง. มี ๑๔ อย่าง
๔. อักษรย่อที่ช่วยให้จำสามัญญตัทธิต คือข้อใด
ก. โค ต รา ชา ส ฐา พ เส ต ป สํ ปู วิ
ข. โค ต ชา รา ส ฐา พา เส ต ป สํ ปู วี
ค. โค ต รา ชา ส ฐา พ เส ตา ปา สํ ปู วิ
ง. โค ต รา ชา ส ฐา พ เส ต ป สํ ปา วิ
๕. โคตตตัทธิต ใช้ปัจจัยแทน ศัพท์ใด
ก. โคตฺต ศัพท์                            ข. อปจฺจ ศัพท์
ค. โคตฺต และ อปจฺจ ศัพท์       ง. ข้อ ค ถูก
๖. ศัพท์ว่า  วาสุเทโว  แปลว่า อย่างไร
ก. อ. พระวาสุเทพ  
ข. อ. เหล่ากอพระวาสุเทพ
ค. เหล่ากอแห่งพระวาสุเทพ ชื่อว่า วาสุเทพ
ง. เหล่ากอแห่งวสุเทวะ ชื่อว่า วาสุเทวะ
๗. ศัพท์ว่า ทกฺขิ ลงปัจจัยอะไร ตั้งวิเคราะห์มาดู
ก. ลง อิ ปัจจัย วิ. ทกฺขสฺส อปจฺจํ ทกฺขิ
ข. ลง ณิ ปัจจัย วิ. ทกฺขสฺส อปจฺจํ ทกฺขิ
ค. ลง ณิ ปัจจัย วิ. อปจฺจํ ทกฺขสฺส ทกฺขิ
ง. ลง อิ ปัจจัย วิ. อปจฺจํ ทกฺขสฺส ทกฺขิ
๘. ศัพท์ว่า สามเณโร ลงปัจจัยอะไร ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. ลง  เร ปัจจัย วิ. สามเณรสฺส อปจฺจํ สามเณโร
ข. ลง เณ ปัจจัย วิ. สามเณรสฺส อปจฺจํ สามเณโร
ค. ลง เณร ปัจจัย วิ. สามณสฺส อปจฺจํ สามเณโร
ง. ลง เณร ปัจจัย วิ. สมณสฺส อปจฺจํ สามเณโร
๙. ตรตยาทิตัทธิต ใช้ปัจจัยอะไรแทน ศัพท์
ก. ณิก ปัจจัย             ข. อิก ปัจจัย
ค. นิก ปัจจัย             ง. ณกิ ปัจจัย
๑๐. ศัพท์ว่า นาวิโก ลงปัจจัยอะไร ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. ลง อิก ปัจจัย วิ. นาวาย ตรตีติ นาวิโก
ข. ลง ณิก ปัจจัย วิ. นาวาย ตรตีติ นาวิโก
ค. ลง ณิก ปัจจัย วิ. นาวาย จรตีติ นาวิโก
ง. ลง อิก ปัจจัย วิ. นาเวน วสตีติ นาวิโก
๑๑. ศัพท์ว่า นาวิโก แปลว่าอย่างไร
ก. ผู้ไปด้วยเรือ         ข. ผู้ข้ามด้วยเรือ
ค. ผู้อยู่ในเรือ           ง. ผู้นั่งในเรือ
๑๒. ศัทพ์ สากฏิโก ลงปัจจัยอะไร ตั้งวิเคราะหอย่างไร
ก. ลง ณิก ปัจจัย วิ. สกเฏน ตรตีติ สากฏิโก
ข. ลง ณิก ปัจจัย วิ. สกเฏน  จรตีติ สากฏิโก
ค. ลง ณิก ปัจจัย วิ. สากเฏน จรตีติ สากฏิโก
ง. ลง ณิก ปัจจัย วิ.  สกเฏน ตรตีติ สากฏิโก
๑๓. ศัพท์ว่า กายิกํ ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. กาเยน กตํ กมฺมํ
ข. ตสฺมึ วตฺตตีติ กายิกํ
ค. กาเยน กมฺมํ กตํ
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
๑๔. บทวิเคราะห์ว่า สงฺฆสฺส สนฺตกํ สงฺฆิกํ  (วตฺถุ) แปลว่าอย่างไร
ก. วัตถุของสงฆ์     ข. สิ่งของที่เป็นของสงฆ์
ค. วัตถุมีอยู่แห่งสงฆ์  ง. ถูกทุกข้อ
๑๕. ราคาทิตัทธิต ใช้ปัจจัยแทนศัพท์อะไร
ก. ใช้ปัจจัยแทน  ราค ศัพท์
ข. ใช้ปัจจัยแทน รตฺต ศัพท์
ค. ใช้ปัจจัยแทนหลายๆ ศัพท์ มี รตฺต ศัพท์ เป็นต้น
ง. ใช้ปัจจัยแทนหลายๆ ศัพท์ มี ราค ศัพท์ เป็นต้น
๑๖. ราคาทิตัทธิต ใช้ปัจจัยอะไร แทนศัพท์
ก. ใช้ ณ ปัจจัย                            ข. ใช้ อ ปัจจัย
ค. ใช้ ณ และ อ ปัจจัย               ง. ไม่มีข้อถูก
๑๗. ศัพท์ว่า กาสาวํ ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. กาสาเวน รตฺตํ วตฺถํ กาสาวํ
ข. กาสาเวน วตฺถํ รตฺตํ กาสาวํ
ค. กาสาเวน กตํ วตฺถํ กาสาวํ
ง. กาสาเวน วตฺถํ กตํ กาสาวํ
๑๘. ศัพท์ว่า กาสาวํ แปลว่าอย่างไร
ก. ผ้า อันบุคคลย้อมแล้ว ด้วยน้ำฝาด
ข. ผ้าอันบุคคลย้อมแล้ว ด้วยรสฝาด
ค. ผ้าอันบุคคลซักแล้ว ด้วยน้ำฝาด
ง. ผ้าอันบุคคลซักแล้ว ด้วยรสฝาด
๑๙. ชาตาทิตัทธิต ลงปัจจัยกี่ตัว อะไรบ้าง
ก. ๓ ตัว คือ อิม อิย กิย
ข. ๓ ตัว คือ อิม อิย อิก
ค. ๓ ตัว คือ อิม อิย อย
ง. ๓ ตัว คือ อิม อิย ยิก
๒๐. ศัพท์ว่า ปุริโม ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. ปุเร ชาโต ปุริโม
ข. ปุรสฺมึ ชาโต ปุริโม
ค. ปเร ชาโต ปุริโม
ง. ปรสฺมึ ชาโต ปุริโม
๒๑. ศัพท์ว่า ปจฺฉิโม แปลว่าอย่างไร
ก. ชน เกิดแล้ว ในกาลก่อน ชื่อว่าผู้เกิดแล้วในก่อน
ข. ชน เกิดแล้ว ในท่ามกลาง ชื่อว่าผู้เกิดแล้วในท่ามกลาง
ค. ชน เกิดแล้ว ในภายหลัง ชื่อว่าผู้เกิดแล้วในภายหลัง
ง. ชน มีแล้ว ในภายหลัง ชื่อว่าผู้มีแล้วในภายหลัง
๒๒. สมุหตัทธิต ลงปัจจัยกี่ตัว อะไรบ้าง
ก. ๓ ตัว คือ กณ, ณ, ตา            ข. ๓ ตัว คือ ณ, ก, ตา
ค. ๓ ตัว คือ กณ, ณย, ตา          ง. ไม่มีข้อถูก
๒๓. สมุหตัทธิต มีคำแปลประจำว่าอย่างไร
ก. ฝูง...แห่ง               ข. ประชุม...แห่ง
ค. หมู่...แห่ง             ง. ถูกทุกข้อ
๒๔. ศัพท์ว่า มานุสโก ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. มนุสฺสานํ สมุโห มานุสโก
ข. สมุโห มนุสฺสานํ มานุสโก
ค. มานุสโก สมุโห มนุสฺสานํ
ง. มนุสฺสานํ มานุสโก สมุโห
๒๕. ศัพท์ว่า มายุรโก แปลว่าอย่างไร
ก. ประชุมแห่งมนุษย์ ท. ชื่อว่า ประชุมแห่งมนุษย์/หมู่แห่งมนุษย์
ข. ประชุมแห่งนกยูง ท. ชื่อว่า ประชุมแห่งนกยูง/ฝูงแห่งนกยูง
ค. ประชุม แห่งนกพิราบ ท. ชื่อว่า ประชุมแห่งนกพิราบ/ฝูงแห่งนกพิราบ
ง. ประชุม แห่งชาวบ้าน ท. ชื่อว่าประชุมแห่งชาวบ้าน
๒๖. ศัพท์ว่า  มานุโส  มายุโร กาโปโต ลงปัจจัยอะไร
ก. กณ ปัจจัย             ข. ณ ปัจจัย
ค. ตา ปัจจัย               ง. ณก ปัจจัย
๒๗. ฐานตัทธิต ลงปัจจัย กี่ตัว อะไรบ้าง
ก. ๒ ตัว คือ อีย,เอยฺย               ข. ๒ ตัว คือ ณีย เณยฺย
ค. ๒ ตัว คือ นีย,เนยฺย              ง. ๒ ตัว คือ อีย,เณยฺย
๒๘. ปัจจัยที่ลงแทน ฐาน ศัพท์ มีคำแปลประจำว่าอย่างไร
ก. ที่ตั้ง...แห่ง           ข. ที่ตั้ง...ของ
ค. ที่ตั้ง...แก่              ง. ที่ตั้ง...เพื่อ
๒๙. ศัพท์ว่า ทสฺสนีโย แปลว่าอย่างไร
ก. ที่ตั้ง แห่งความเมา               ข. ที่ตั้ง แห่งความผูก
ค. (ชน) ผู้ควรซึ่งการบูชา       ง. (ชน) ผู้ควรซึ่งการเห็น
๓๐. ศัพท์ว่า มทฺนียํ แปลว่า อย่างไร
ก. ที่ตั้ง แห่งความเมา               ข. ที่ตั้ง แห่งความผูก
ค. (ชน) ผู้ควรซึ่งการบูชา       ง. (ชน) ผู้ควรซึ่งการเห็น
๓๑. ศัพท์ว่า ปูชเนยฺโย ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. ทสฺสนํ อรหตีติ ปูชเนยฺโย ข. ปูชนํ อรหตีติ ปูชเนยฺโย
ค. ทกฺขิณํ อรหตีติ ปูชเนยฺโย ง. ปูชนานํ ฐานํ ปูชเนยฺโย
๓๒. พหุลตัทธิต ลงปัจจัยกี่ตัว อะไรบ้าง
ก. ๑ ตัว คือ ชาลุ ปัจจัย            ข. ๑ ตัว คือ อาลุ ปัจจัย
ค. ๑ ตัว คือ พหุล ปัจจัย          ง. ๑ ตัว คือ ลุ ปัจจัย
๓๓. ปัจจัยในพหุลตัทธิต ใช้แทนศัพท์อะไรบ้าง
ก. ใช้แทน พหุล และ อภิชฺฌา
ข. ใช้แทน ปกติ และ อาลุ
ค. ใช้แทน พหุล และ ปกติ
ง. ใช้แทน ปกติ หรือ พหุล
๓๔. ศัพท์ว่า ทยาลุ ตั้งวิเคราะห์อย่างไร
ก. ทยา อสฺส ปกติ ทยาลุ          ข. ทยา อสฺส พหุลา ทยาลุ
ค. ทยา ปกติ อสฺส ทยาลุ          ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.



1 ความคิดเห็น: