วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แจ้งให้ทราบ


แจ้งให้นิสิตทราบว่า วันนี้ พระอาจารย์ไม่ได้เข้าบรรยาย

มอบงาน
ให้เขียน ศัพท์ที่มีพยัญชนะสังโยค มาวรรคละ ๑๐ ศัพท์
ตัวอย่างวรรค ก เช่น  อกฺขรํ จกฺกํ กญฺญา สงฺโฆ จงฺกมํ เป็นต้น
ตัวอย่างวรรค จ เช่น กิจฺจํ กจฺฉา ปุจฺฉา



วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การสะกดตัวในภาษาบาลี



เครื่องหมายการสะกดตัว
การสะกดตัวในภาษาบาลี มีเครื่องหมาย ๒ ชนิด คือ
๑.   มีจุด . เรียกว่า  พินทุ  คือ เป็นจุดกลมดำ สำหรับเขียนไว้ใต้ตัวอักษร  ใช้เป็นตัวสะกดแบบภาษาไทยมีค่าเท่ากับ
          ๑.๑ แทนไม้หันอากาศอย่างเดียว เช่น  กกฺข  (อ่านว่า กักขะ ) แปลว่า หยาบ 
         คนธ (อ่านว่า คันธะ)  แปลว่า กลิ่น
สงฺฆ อ่าน  สังฆะ  แปลว่า  หมู่  หรือ สงฆ์ 
              ๑.๒ แทนตัวสะกดธรรมดา เมื่อมีสระ  เ (สระเอ)  หรือ    (สระอุ)  อยู่หน้าตัวที่ถูกจุดไว้นั้น     เชฏฺฐา   เสฏฺฐา   
                เช่น     เหฏฺา  (อ่านว่า  เหฏฐา )  แปลว่า ภายใต้   เทฺว  อ่านว่า ทะเว  แปลว่า สอง   ทฺวิ  อ่านว่า  ทะวิ  แปลว่า สอง  
เทว  อ่านว่า เทวะ  แปลว่า เทวตา หรือ ฝน
         รุกฺข  (อ่านว่า รุกขะ)  แปลว่า ต้นไม้
           ๑.๓ เครื่องหมายแบ่งเสียงในฐานะที่เป็นตัวสะกดด้วย และออกเสียงในขณะเดียวกันด้วย มักใช้พยัญชนะอวรรคเป็นตัวสะกด เป็นอัฑฒสระ คือออกเสียงครึ่งเดียว เช่น   ตสฺมา ให้ออกเสียงที่ สฺ นิดเดียว ออกเสียงเร็ว ๆ สั้น ๆ จะได้ยินเป็น ตสฺมา (อ่านว่า ตัดสะม่า)
          ๑.๔ เครื่องหมายในอักษรกล้ำ ที่อ่านควบกัน เช่น พฺราหฺม (อ่านว่า พรำหมะ)  แปลว่า พระพรหม    
พฺราหฺมณ  (อ่านว่า พราหมะณะ)  แปลว่า พราหมณ์
ตตฺร (อ่านว่า ตัดตระ)  แปลว่า นั้น
อตฺรชํ  (อ่านว่า  อัดตะระชัง) แปลว่า เกิดแต่อก      
๒. มีนิคคหิต (  )  สำหรับเขียนไว้บนพยัญชนะและสระมีความหมาย ๒ ชนิด คือ
๒.๑ นิคคหิต (  )  อยู่บนพยัญชนะตัวใดก็ตาม มีค่าเท่ากับ ไม้หันอากาศ กับ ตัว ง เช่น
กํ, ขํ,  มํ,  และ ยํ  (อ่านว่า กัง,  ขัง, มัง, และ ยัง)
๒.๒ นิคคหิต (  )  อยู่บนสระ   ิ (อิ),      (อุ) ที่ผสมกันกับพยัญชนะ มีค่าเท่ากับ ง  งู สะกดอย่างเดียว เช่น  กึ,  ก  (อ่านว่า กิง,  กุง)  เป็นต้น
การเขียนพยัญชนะสังโยค
          พยัญชนะสังโยค หมายถึง การเขียนพยัญชนะซ้อนกัน โดยไม่มีสระมาคั่นกลาง           ในระหว่าง เช่น กฺก กฺข คฺค คฺฆ จะเห็นว่าไม่มีสระอยู่ในระหว่างพยัญชนะ ๒ ตัวนั้น                        มีหลักในการประกอบพยัญชนะซ้อนกันได้  ดังนี้
          ๑. พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่ ๒ ในวรรคของตนได้ เช่น
ก วรรค  = กฺก   เช่น คำว่า  จกฺก  แปลว่า  ล้อ หรือ จักร
              = กฺข   เช่น  คำว่า จกฺขุ  แปลว่า  นัยน์ตา หรือ จักษุ
จ วรรค = จฺจ   เช่น คำว่า  สจฺจ แปลว่า  ความสัตย์ ความจริง
             = จฺฉ   เช่น  คำว่า กจฺฉป  แปลว่า เต่า
ฎ วรรค = ฏฺฏ   เช่น คำว่า   วฏฺฏ  แปลว่า  วนเวียน หรือ หมุนเวียน
             =ฏฺ   เช่นคำว่า  รฏฺ   แปลว่า  แว่นแคว้น  หรือ ราษฎร
ต วรรค = ตฺต  เช่น คำว่า   อตฺต  แปลว่   ตน 
             =ตฺถ  เช่นคำว่า  อตฺถ  แปลว่า ประโยชน์, เนื้อความ, อรรถ
ป วรรค = ปฺป  เช่นคำว่า  สปฺป  แปลว่า งู
             =ปฺผ เช่นคำว่า   ปุปฺผ   แปลว่า ดอกไม้
          ๒. พยัญชนะที่  ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔ ในวรรคของตนได้ เช่น
ก วรรค  =คฺค เช่นคำว่า  อคฺค  แปลว่า ประเสริฐ, เลิศ, ยอด
คฺฆ  เช่นคำว่า อคฺฆ  แปลว่า  ค่า, ราคา
จ วรรค  =ชฺช เช่นคำว่า  อชฺช  แปลว่า วันนี้
ชฺฌ  เช่นคำว่า มชฺฌ  แปลว่า  ท่ามกลาง, ปานกลาง
ฏ วรรค = ฑฺฑ  เช่นคำว่า  เลฑฺฑุ   แปลว่า  ก้อนดิน
=  ฑฺฒ  เช่นคำว่า  วุฑฺฒิ  แปลว่า ความเจริญ 
ต วรรค  = ทฺท เช่นคำว่า  สทฺท  แปลว่า ศัพท์,เสียง  
=ทฺธ  เช่นคำว่า   ลทฺธิ  แปลว่า  ลัทธิ,  ธรรมเนียม 
ป วรรค  =พฺพ เช่นคำว่า  ปพฺพต  แปลว่า ภูเขา
= พฺภ เช่นคำว่า  คพฺภ  แปลว่า  ท้อง, ครรภ์
                  ๓. พยัญชนะที่ ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทุกตัว ยกเว้น ง ไม่ซ้อนหน้าตนเอง เช่น
ก  วรรค   = งฺก   เช่นคำว่า  องฺก  แปลว่า องก์,  ฉาก,  ส่วน, ตอน 
งฺข เช่นคำว่า  สงฺขารา  แปลว่า  สังขารทั้งหลาย
งฺค  เช่นคำว่า องฺค แปลว่า องค์,  ตัว
งฺฆ  เช่นคำว่า สงฺฆ  แปลว่า หมู่, พระสงฆ์
จ วรรค = ญฺจ  เช่นคำว่า มญฺจ  แปลว่า เตียงนอน,แท่นนอน
ญฺฉ เช่นคำว่า  อุญฺฉา  แปลว่า ขอ, ขอทาน
ญฺช เช่นคำว่า กุญฺชร  แปลว่า ช้าง
ญฺฌ เช่นคำว่า วญฺฌา  แปลว่า หญิงหมัน
ญฺ เช่นคำว่า อญฺญ  แปลว่า อื่น
ฏ วรรค = ณฺฏ เช่นคำว่า  กณฺฏก  แปลว่า หนาม 
ณฺ เช่นคำว่า  สณฺาน  แปลว่า ทรวดทรง, สัณฐาน
ณฺฑ เช่นคำว่า ปณฺฑิต แปลว่า บัณฑิต
ณฺณ  เช่นคำว่า วณฺณ แปลว่า สี, ผิวพรรณ, ชั้น
ต วรรค = นฺต เช่นคำว่า อนฺต  แปลว่า ที่สุด
นฺถ  เช่นคำว่า  คนฺถ  แปลว่า  คัมภีร์
นฺท  เช่นคำว่า วนฺทน แปลว่า การไหว้
นฺธ  เช่นคำว่า อนฺธ  แปลว่า มืด, บอด
นฺน เช่นคำว่า อนฺน  แปลว่า ข้าว            
ป วรรค  = มฺป  เช่นคำว่า สมฺปทาน  แปลว่า สัมปทาน, สถานที่ที่มอบให้
มฺผ เช่นคำว่า สมฺผสฺส แปลว่า ถูกต้อง, กระทบ, ต้อง
มฺพ เช่นคำว่า อมฺพ  แปลว่า  มะม่วง
มฺภ  เช่นคำว่า ถมฺภ  แปลว่า   หัวดื้อ, รั้น
มฺม  เช่นคำว่า อมฺม แปลว่า แม่  
พยัญชนะอวรรคที่ซ้อนกันได้ คือ ย ล ส ซ้อนกัน ๒ ตัวก็ดี ไม่มีสระคั่นพยัญชนะตัวหน้า  เป็นตัวสะกดของสระที่อยู่หน้าตน ไม่ออกเสียงผสมด้วยพยัญชนะตัวหลัง ส่วนพยัญชนะตัวหลัง อาศัยสระตัวหลังออกเสียง เช่น ยฺย ลฺล สฺส เช่นคำบาลีว่า โสเจยฺยํ,  เทยฺยํ, เสยฺยํ, เสยฺโย, เปยฺยํ, กลฺลํ ปลฺลํ โกสลฺลํ, ปสฺสติ, ทสฺสติ , อสฺส, โปริสฺสํ เป็นต้น
          พยัญชนะ ๔ ตัว คือ ย ร ล ว ถ้าอยู่หลังพยัญชนะอื่น ก็ออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวหน้า เช่นคำบาลีว่า  คารยฺหํ  ชิวฺหา เป็นต้น





วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บาลีไวยากรณ์ ๑ (แบบฝึกหัดที่ ๑)





แบบฝึกหัดที่ ๑  :  ให้ตอบคำถามต่อไปนี้

๑.  ให้นักศึกษานำเอาข้อความที่ให้ไว้ข้างบนไปเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้องสมบูรณ์  

      การก,  สนธิ,    สมาส,   สัพพนาม,   อักขรวิธี,   อาขยาต,    อุณาทิ,  กิตก์,  การก, ตัทธิต, นาม  วจีวิภาค,  วากยสัมพันธ์,   ฉันทลักษณ์

        ๑.๑  ภาษาบาลีต้องอาศัยโครงสร้างแห่งคำพูด ๑๐ ประการคือ

๑)................................๒)..............................๓)................................๔)......................................๕).................................๖)...............................๗)...............................๘).....................................

๙)..................................๑๐)...............................

       ๑.๒ ทั้ง ๑๐ ประการว่าด้วยหลักใหญ่ๆ  มีอยู่ ๔  ภาคคือ

๑) .......................................๒)..................................๓)..................................๔)..........................          


๒. ให้นักศึกษาทำเครื่องหมายกากบาททับตัวอักษร  ก. ข. ค. และ ง. ที่เห็นว่าถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

          (๑) อักขรวิธีว่าด้วยอักขระมีกี่อย่าง อะไรบ้าง ?

                  ก.  ๒ อย่างคือ นาม อัพพยศัพท์            ข. ๒ อย่างคือ สมาส ตัทธิต

                  ค. ๒ อย่าง กิตก์ กิริยากิตก์                  ง. ๒ อย่าง คือ สมัญญาภิธาน สนธิ

            (๒)   วากยสัมพันธ์ว่าด้วยเรื่องอะไร  ?

                     ก. การเขียนการอ่านออกเสียง          ข.  การเชื่อมการต่ออักษรให้ติดเนื่องกัน

                     ค. วิธีการเรียงคำการก                       ง.  วิธีร้อยกรองคำพูด

            (๓) ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มคำของวจีวิภาค ?

                     ก. สัพพนาม                                    ข. อุณาทิ           

                      ค. การก                                          ง. สนธิ

             (๔)  นักปราชญ์ทางภาษาบาลีท่านให้ความหมายของคำว่า อักขระ ว่าอย่างไร ?

                      ก. เป็นเสียงของพยัญชนะ               ข. เป็นเสียงของสระ 

                     ค. ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น                    ง. ข้อ ก. ข. ถูกต้อง

              (๕)  สมัญญาภิธานว่าด้วยเรื่องอะไร ?

                      ก. การต่ออักษร                                ข. การแสดงชื่อสระและพยัญชนะ 

                      ค. การแบ่งคำพูด                              ง. วิธีการร้อยกรองคำพูด

            (๖)  สนธิว่าด้วยเรื่องอะไร ?

               ก. การต่ออักษร                                                ข. การแสดงชื่อสระและพยัญชนะ 

               ค. การแบ่งคำพูด                                              ง. วิธีการร้อยกรองคำพูด  

            (๗)  อักขระตัวใดที่ไม่ใช่สระแท้ที่เกิดการผสมกัน ?   

                    ก. อา                        ข. อี                     ค.  อู                        ง. โอ

             (๘)  สระทั้ง ๘ ตัว เราเรียกชื่อว่า อย่างไร ?

                     ก.  นิสสัย                ข. นิสสิต             ค. ทีฆะ                    ง. รัสสะ

             (๙) สระ ๒ ตัว คือ เอ, โอ มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลัง ท่านกล่าวว่าเป็น...............

                ก. ทีฆะ                 ข. รัสสะ                         ค. ครุ                          ง. ลหุ

          (๑๐) ฉันทลักษณ์มีความหมายว่าอย่างไร  ?

              ก. การเขียนการอ่านออกเสียง           ข.  การเชื่อมการต่ออักษรให้ติดเนื่องกัน

              ค. วิธีการเรียงคำการก                       ง.  วิธีร้อยกรองคำพูด

 เฉลยแบบฝึกหัดที่ ๑

๑.๑              ๑. อักขรวิธี   ๒. สนธิ   ๓. นาม    ๔. อัพยยศัพท์    ๕. สมาส   ๖. ตัทธิต   ๗. อาขยาต      
             ๘. กิตก์  ๙. อุณาทิ   และ ๑๐. การก (Case -เคซ)
๑.๒      ภาคที่  ๑. อักขรวิธี    
            ภาคที่  ๒. วจีวิภาค
            ภาคที่  ๓. วากยสัมพันธ์  
ภาคที่  ๔. ฉันทลักษณะ

 ๒.  (๑) ง . (๒) ค. (๓) ข. (๔) ค. (๕) ข. (๖) ก. (๗) ง. (๘) ก. (๙) ข. (๑๐) ง.