เครื่องหมายการสะกดตัว
การสะกดตัวในภาษาบาลี มีเครื่องหมาย ๒ ชนิด คือ
๑. มีจุด
. เรียกว่า พินทุ คือ เป็นจุดกลมดำ
สำหรับเขียนไว้ใต้ตัวอักษร
ใช้เป็นตัวสะกดแบบภาษาไทยมีค่าเท่ากับ
๑.๑
แทนไม้หันอากาศอย่างเดียว เช่น กกฺข (อ่านว่า กักขะ ) แปลว่า หยาบ
คนธ (อ่านว่า
คันธะ) แปลว่า กลิ่น
สงฺฆ อ่าน สังฆะ แปลว่า
หมู่ หรือ สงฆ์
๑.๒ แทนตัวสะกดธรรมดา
เมื่อมีสระ เ (สระเอ) หรือ
(สระอุ) อยู่หน้าตัวที่ถูกจุดไว้นั้น เชฏฺฐา
เสฏฺฐา
เช่น เหฏฺา
(อ่านว่า เหฏฐา ) แปลว่า ภายใต้ เทฺว
อ่านว่า ทะเว แปลว่า สอง ทฺวิ อ่านว่า
ทะวิ แปลว่า สอง
เทว อ่านว่า เทวะ แปลว่า เทวตา หรือ ฝน
รุกฺข (อ่านว่า รุกขะ) แปลว่า ต้นไม้
๑.๓
เครื่องหมายแบ่งเสียงในฐานะที่เป็นตัวสะกดด้วย และออกเสียงในขณะเดียวกันด้วย
มักใช้พยัญชนะอวรรคเป็นตัวสะกด เป็นอัฑฒสระ คือออกเสียงครึ่งเดียว เช่น ตสฺมา ให้ออกเสียงที่ สฺ นิดเดียว ออกเสียงเร็ว
ๆ สั้น ๆ จะได้ยินเป็น ตสฺมา (อ่านว่า ตัดสะม่า)
๑.๔ เครื่องหมายในอักษรกล้ำ ที่อ่านควบกัน
เช่น พฺราหฺม (อ่านว่า พรำหมะ) แปลว่า
พระพรหม
พฺราหฺมณ (อ่านว่า
พราหมะณะ) แปลว่า พราหมณ์
ตตฺร (อ่านว่า ตัดตระ) แปลว่า
นั้น
อตฺรชํ (อ่านว่า อัดตะระชัง) แปลว่า
เกิดแต่อก
๒. มีนิคคหิต ( ) สำหรับเขียนไว้บนพยัญชนะและสระมีความหมาย ๒
ชนิด คือ
๒.๑ นิคคหิต ( ) อยู่บนพยัญชนะตัวใดก็ตาม มีค่าเท่ากับ
ไม้หันอากาศ กับ ตัว ง เช่น
กํ, ขํ, มํ, และ ยํ
(อ่านว่า กัง, ขัง, มัง, และ ยัง)
๒.๒ นิคคหิต ( ) อยู่บนสระ
ิ (อิ), (อุ) ที่ผสมกันกับพยัญชนะ มีค่าเท่ากับ ง งู สะกดอย่างเดียว เช่น กึ,
ก (อ่านว่า กิง, กุง)
เป็นต้น
การเขียนพยัญชนะสังโยค
พยัญชนะสังโยค หมายถึง การเขียนพยัญชนะซ้อนกัน
โดยไม่มีสระมาคั่นกลาง ในระหว่าง
เช่น กฺก กฺข คฺค คฺฆ จะเห็นว่าไม่มีสระอยู่ในระหว่างพยัญชนะ ๒
ตัวนั้น
มีหลักในการประกอบพยัญชนะซ้อนกันได้
ดังนี้
๑. พยัญชนะที่ ๑ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๑ และที่
๒ ในวรรคของตนได้ เช่น
ก วรรค = กฺก เช่น คำว่า จกฺก
แปลว่า ล้อ
หรือ จักร
= กฺข เช่น คำว่า จกฺขุ
แปลว่า นัยน์ตา
หรือ จักษุ
จ วรรค = จฺจ เช่น คำว่า สจฺจ แปลว่า
ความสัตย์ ความจริง
= จฺฉ เช่น คำว่า กจฺฉป
แปลว่า เต่า
ฎ วรรค = ฏฺฏ เช่น คำว่า
วฏฺฏ แปลว่า วนเวียน หรือ
หมุนเวียน
=ฏฺ เช่นคำว่า รฏฺ
แปลว่า แว่นแคว้น หรือ ราษฎร
ต วรรค = ตฺต เช่น คำว่า
อตฺต แปลว่ ตน
=ตฺถ เช่นคำว่า อตฺถ
แปลว่า ประโยชน์, เนื้อความ, อรรถ
ป วรรค = ปฺป เช่นคำว่า
สปฺป แปลว่า งู
=ปฺผ เช่นคำว่า
ปุปฺผ แปลว่า ดอกไม้
๒. พยัญชนะที่ ๓ ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ ๓ และที่ ๔
ในวรรคของตนได้ เช่น
ก วรรค =คฺค เช่นคำว่า อคฺค แปลว่า ประเสริฐ, เลิศ, ยอด
คฺฆ เช่นคำว่า อคฺฆ แปลว่า
ค่า, ราคา
จ วรรค =ชฺช เช่นคำว่า อชฺช แปลว่า วันนี้
ชฺฌ เช่นคำว่า มชฺฌ แปลว่า
ท่ามกลาง, ปานกลาง
ฏ วรรค = ฑฺฑ เช่นคำว่า
เลฑฺฑุ แปลว่า ก้อนดิน
= ฑฺฒ เช่นคำว่า
วุฑฺฒิ แปลว่า ความเจริญ
ต วรรค = ทฺท เช่นคำว่า สทฺท แปลว่า ศัพท์,เสียง
=ทฺธ
เช่นคำว่า ลทฺธิ แปลว่า
ลัทธิ, ธรรมเนียม
ป วรรค =พฺพ เช่นคำว่า ปพฺพต แปลว่า ภูเขา
= พฺภ
เช่นคำว่า คพฺภ แปลว่า
ท้อง, ครรภ์
๓. พยัญชนะที่ ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะในวรรคของตนได้ทุกตัว ยกเว้น ง
ไม่ซ้อนหน้าตนเอง เช่น
ก วรรค = งฺก เช่นคำว่า องฺก
แปลว่า องก์, ฉาก, ส่วน, ตอน
งฺข เช่นคำว่า
สงฺขารา แปลว่า สังขารทั้งหลาย
งฺค เช่นคำว่า
องฺค แปลว่า องค์, ตัว
งฺฆ เช่นคำว่า สงฺฆ แปลว่า หมู่, พระสงฆ์
จ วรรค = ญฺจ เช่นคำว่า มญฺจ แปลว่า เตียงนอน,แท่นนอน
ญฺฉ เช่นคำว่า อุญฺฉา แปลว่า ขอ, ขอทาน
ญฺช เช่นคำว่า กุญฺชร แปลว่า
ช้าง
ญฺฌ เช่นคำว่า วญฺฌา แปลว่า
หญิงหมัน
ญฺ เช่นคำว่า อญฺญ แปลว่า
อื่น
ฏ วรรค = ณฺฏ เช่นคำว่า กณฺฏก
แปลว่า หนาม
ณฺ เช่นคำว่า สณฺาน แปลว่า ทรวดทรง, สัณฐาน
ณฺฑ เช่นคำว่า ปณฺฑิต แปลว่า บัณฑิต
ณฺณ เช่นคำว่า วณฺณ แปลว่า
สี, ผิวพรรณ, ชั้น
ต วรรค = นฺต เช่นคำว่า อนฺต แปลว่า ที่สุด
นฺถ เช่นคำว่า คนฺถ
แปลว่า คัมภีร์
นฺท เช่นคำว่า วนฺทน แปลว่า
การไหว้
นฺธ เช่นคำว่า อนฺธ แปลว่า มืด, บอด
นฺน เช่นคำว่า อนฺน แปลว่า
ข้าว
ป วรรค = มฺป เช่นคำว่า สมฺปทาน แปลว่า สัมปทาน, สถานที่ที่มอบให้
มฺผ เช่นคำว่า สมฺผสฺส แปลว่า ถูกต้อง, กระทบ, ต้อง
มฺพ เช่นคำว่า อมฺพ
แปลว่า มะม่วง
มฺภ เช่นคำว่า ถมฺภ แปลว่า
หัวดื้อ, รั้น
มฺม เช่นคำว่า
อมฺม แปลว่า แม่
พยัญชนะอวรรคที่ซ้อนกันได้ คือ ย ล ส
ซ้อนกัน ๒ ตัวก็ดี ไม่มีสระคั่นพยัญชนะตัวหน้า
เป็นตัวสะกดของสระที่อยู่หน้าตน ไม่ออกเสียงผสมด้วยพยัญชนะตัวหลัง
ส่วนพยัญชนะตัวหลัง อาศัยสระตัวหลังออกเสียง เช่น ยฺย ลฺล สฺส
เช่นคำบาลีว่า โสเจยฺยํ, เทยฺยํ, เสยฺยํ,
เสยฺโย, เปยฺยํ, กลฺลํ ปลฺลํ โกสลฺลํ, ปสฺสติ,
ทสฺสติ , อสฺส, โปริสฺสํ เป็นต้น
พยัญชนะ ๔ ตัว คือ ย
ร ล ว ถ้าอยู่หลังพยัญชนะอื่น ก็ออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวหน้า
เช่นคำบาลีว่า คารยฺหํ ชิวฺหา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น